top of page

คำถามที่พบบ่อย(คำถามพบ)

คำถามพบบ่อย

ความน่าเชื่อถือของแบบประเมิน M.I.S.S.CONSULT มีมากแค่ไหน?

ความน่าเชื่อถือของแบบประเมิน มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะแบบประเมินสำหรับการใช้ในการทำงาน ทำให้เกิดการสร้างข้อกำหนดและ กฏ กติกาของแบบประเมินดังกล่าว จาก 2 สถาบันหลักที่เป็นที่ยอมรับดังนี้ 

 

  • APA: American Psychological Association ซึ่งเป็นหน่วยงานของทางสหรัฐอเมริกา ในการตรวจสอบคุณภาพ กำหนดมาตรฐาน และข้อมูลทางด้านการดำเนินการทางแบบทดสอบทางจิตวิทยาและหรือข้อมูลทางด้านจิตวิทยาอื่น โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.apa.org

 

  • BPA: The British Psychological Society หน่วยงานของทางสาธารณรัฐอังกฤษ ในเรื่องของจิตวิทยา โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.psychoanalysis-bpa.org

 

หน่วยงานหลักทั้ง 2 เป็นหน่วยงานที่มีส่วนสำคัญในการประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของแบบประเมินในเชิงพาณิชย์ เพื่อทำให้เกิดความแตกต่างจากแบบประเมินทั่วไป ตลอดทั้งทำให้เกิดคุณภาพของแบบประเมินที่มีความน่าเชื่อถือที่ดีเพียงพอสำหรับการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ โดย M.I.S.S.CONSULT ผ่านมาตรฐานของ APA ซึ่งลูกค้าสามารถขอดูรายละเอียดในแต่ละแบบประเมินได้จากตัวแทนของท่าน

 

02  M.I.S.S.CONSULT มีแบบประเมินกี่ภาษา?

แบบประเมินของ M.I.S.S.CONSULT มีทั้งหมด 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ  
แบบประเมิน DiSC Everything DiSC มีมากกว่า 10 ภาษา เช่น อังกฤษ จีน ญี่ป่น สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส

03  เราสามารถใช้แบบประเมินเดียวกันสำหรับผู้บริหารกับพนักงานทั่วไปได้หรือไม่?

การเลือกใช้แบบประเมินที่ดีที่สุด คือ การเลือกใช้บนวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เพราะ ค่าความน่าเชื่อถือของ แบบประเมินจะถูกประเมินบนวัตถุประสงค์ของแบบประเมินที่ถูกกำหนด (Test Objective ) ดังนั้น การเลือกใช้แบบประเมินที่สอดคล้องต่อวัตถุประสงค์ที่ต้องการคือ สาระสำคัญของการได้ผลลัพธ์ที่ตอบสนองอย่างดีที่สุด เช่น ทดสอบความเป็นผู้นำ ก็ควรเลือกแบบประเมินที่มีวัตถุประสงค์ในด้านการประเมินผู้นำ เป็นต้น 

 

ดังนั้น การใช้แบบประเมินสำหรับผู้บริหาร สามารถนำมาใช้กับพนักงานทั่วไปได้ ถ้าวัตถุประสงค์สอดคล้องต่อความต้องการ เช่น ต้องการประเมินถึง บุคลิกภาพและแนวโน้มทางศักยภาพ การใช้แบบประเมินก็เพียงเลือก แบบประเมินที่มีวัตถุประสงค์ในด้านการประเมินทางบุคลิกภาพและศักยภาพ เป็นต้น 

 

04  M.I.S.S.CONSULT มีแบบประเมินกี่แบบ?

MissConsult มีแบบตอบสนองความต้องการของลูกค้าแบบซีเรียส ซีเรียลมากขึ้น โดยจะเน้นมากขึ้นโดยชัดเจน 

 

  • แบบนั่นที่จะพาไปสำรวจกลุ่มคนไตเทียม MCIC 

  • แบบทดสอบสากลแปล  MBTI, DISC, OPQ และ อื่นๆ 

  • แบบ ทุกอย่าง DiSC by a Wiley brand

  • แบบเนื้อเพื่อเกาะ Team   The Five Behaviors of a Cohesive Team by Patrick Lencioni

*** คำแนะนำ:

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของแบบประเมินท่านควรใช้แบบประเมินให้สอดคล้องกับกลุ่มสำรวจของท่าน เช่น แบบประเมินควรเลือกตามวัตถุประสงค์ของแบบประเมิน ควรหลีกเลี่ยงการใช้แบบประเมินเพื่อการพัฒนามาใช้เลือกพนักงานสู่องค์กร เป็นต้น  เราเชื่อว่าทุกคนเก่งในแบบของตนเองแต่เหมาะกับตำแหน่งงานหรือไม่? นั่นคือคำตอบว่าทำไม แบบประเมินควรใช้มาเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยมองพนักงานในมุมต่างๆ

 

พื้นที่เปิดเผย

Open

Blind

จุดบอด

พื้นที่ซ่อนเร้น

Hidden

unknown

พื้นที่ที่ไม่รู้

*** ทฤษฎีหน้าต่าง Johari
 

Johari Window เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาตนเองและความสัมพันธ์ในการทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  1. Open Area (พื้นที่เปิดเผย): สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับตัวเองและคนอื่นก็รู้ด้วย เช่น ทักษะ ความสามารถ จุดแข็ง หรือแม้แต่นิสัยส่วนตัว การเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้จะช่วยสร้างความไว้วางใจและความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน

  2. Blind Spot (จุดบอด): สิ่งที่คนอื่นรู้เกี่ยวกับเรา แต่เราไม่รู้ตัวเอง เช่น พฤติกรรมบางอย่างที่เราไม่ทันสังเกต หรือผลกระทบที่เราอาจมีต่อคนอื่นโดยไม่รู้ตัว การรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงานจะช่วยให้เราเข้าใจจุดบอดของตัวเอง และพัฒนาตนเองได้ดียิ่งขึ้น

  3. Hidden Area (พื้นที่ซ่อนเร้น): สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับตัวเอง แต่คนอื่นไม่รู้ เช่น ความกลัว ความไม่มั่นใจ หรือเป้าหมายส่วนตัว การเปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้ในบางครั้งอาจช่วยสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งขึ้นกับเพื่อนร่วมงานที่เราไว้วางใจ

  4. Unknown Area (พื้นที่ที่ไม่รู้): สิ่งที่ทั้งเราและคนอื่นไม่รู้เกี่ยวกับตัวเรา เช่น ศักยภาพที่ซ่อนอยู่ หรือแรงจูงใจที่แท้จริง การสำรวจและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้เราค้นพบและพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในส่วนนี้

05  แบบทดสอบ Personality Test ของMISSCONSULTมีจุดเด่นหรือไม่?

แบบประเมินของ M.I.S.S.CONSULT ในกลุ่ม Personality มีความชัดเจนในการกำหนดกลุ่มสำรวจที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจ ทำให้การประเมินมีความสอดคล้องกับความเป็นจริงของผู้ทำการประเมินอย่างโดดเด่น ส่งผลต่อการวางแผนพัฒนาได้อย่างสอดคล้อง และ ยังทำให้ประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยทั้งนี้ เราได้มีรวบรวม 3 เหตุผลสำคัญที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจเลือกใจบริการได้ดังนี้

  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือและความเป็นมาตรฐานแก่องค์กร โดยลดความลำเอียงทางการคิดเฉพาะของบุคคล สร้างความเป็นธรรม

  2. สนับสนุนการทำงานของทีมงาน และ ผู้บริหาร ผ่านรูปแบบรายงานผลที่ตอบสนองต่อการสร้างความเข้าใจและการแนะนำแนวทางแก้ไขหรือสร้างความร่วมมือ

  3. ลดค่าใช้จ่ายทางความผิดพลาดด้านบุคลากร เช่น การวางแผนพัฒนาโดยการคาดเดาโดยทั่วไป หรือ การคัดเลือกบุคลากรโดยไม่มีเครื่องมือชี้วัด ช่วยประเมินลดความผิดพลาด

06  Lie Detector ของ M.I.S.S.CONSULT คืออะไร?

Lie Detector เป็นรูปแบบชุดคำถามที่ถูกประเมินในรูปแบบของการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้ทำแบบประเมินในเชิงพาณิชย์ ที่ผู้ทำแบบประเมิน อาจมีความกังวล หรือ วิเคราะห์ข้อสอบมากเกินไป
 
โดย Lie Detector คือ พัฒนาการของการประเมินความน่าเชื่อถือในรูปแบบ การสำรวจความสม่ำเสมอ หรือ Consistency  ที่ผู้ทำแบบประเมินมีความคุ้นเคยและจับสังเกตได้มากขึ้น ทำให้เกิดการประเมินบนพื้นฐานการวิเคราะห์ผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่า การประเมินหาศักยภาพของตนเองอย่างแท้จริง Lie Detector จึงถูกพัฒนามาลดข้อจำกัดและความคุ้นเคยของ Consistency โดยแบบประเมินในกลุ่มใหม่จะเป็นการใช้กลุ่ม Lie Detector โดยทั้งสิ้น 

 คำถามที่พบบ่อย

bottom of page