Group A
Group A
Group A
Psychometric Test
Psychometric Test
Psychometric Test


PSYCHOMETRIC HISTORY
ประวัติแบบประเมินทางจิตวิทยา (Psychometric Test)
ได้รับความนิยมตั่งแต่ ศตวรรษที่ 20 แบบทดสอบจิตวิทยาพบว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการช่วยลดต้นทุนแก่องค์กร และ สามารถคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสมและดีที่สุดให้แก่องค์กร สามารถทำให้องค์กรเรียนรู้การพัฒนาบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการทำงานและประสิทธิภาพด้านการพัฒนาทัศนคติและจิตใจ
แบบทดสอบทางจิตวิทยา เป็นแบบทดสอบที่ถูกใช้อย่างกว้างขว้างในทุกอุตสาหกรรม โดยมีรูปแบบที่หลากหลาย ตามวัตถุประสงค์ในการถูกออกแบบ มีทั้งรูปแบบเพื่อใช้ ประเมินบุคลิกลักษณะ และ ความสามารถ ของแต่ละบุคคลว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานที่ทำ หรือ ความรับผิดชอบที่ถูกกำหนดหรือไม่ หรือ รูปแบบที่ถูกเจาะจงทดสอบเฉพาะนิสัยที่สำคัญ เช่น นิสัยความซื่อสัตย์ หรือ นิสัยด้านความรับผิดชอบ เป็นต้น
ทำให้องค์กร สามารถทำความรู้จักบุคคลและผู้สมัครได้มากขึ้น ยังสามารถทำให้เข้าใจสังคม การใช้ชีวิตของแต่ละบุคคลที่มีต่อคนรอบข้าง ลักษณะงาน ที่จำเป็น รวมทั้งวิธีการทำงานให้ดีที่สุดสำหรับ บุคลิกเฉพาะของแต่ละคน!
ลดความเสี่ยงต่อปัญหาเชิงบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของแบบประเมินทางจิตวิทยา แบ่งออกเป็น 3 หลัก
-
Personality Test: แบบทดสอบวัดทางด้านลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางพฤติกรรมของบุคคล
-
Aptitude Test / Skill Test: แบบทดสอบวัดทางด้านทักษะ ความสามารถ
-
Motivation Test: แบบทดสอบวัดแรงจูงใจ
ความน่าเชื่อถือของ Psychometric test หรือ แบบทดสอบทางจิตวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง และ เป็นเครื่องมือประกอบการคัดเลือก การพัฒนา บุคลากร เพื่อทำให้องค์กรได้บุคลากรที่ดี และ เรียนรู้ที่จะใช้ศักยภาพของบุคลกรได้อย่างเต็มที่ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายขององค์กร บุคคล มีความหลากหลายในตนเอง คนแต่ละคน มีจุดเด่น จุดด้อย และ ความรู้สึกแอบแฝง เปิดเผย ที่แตกต่างกัน ด้วยแบบทดสอบ ไม่เพียงทำให้รู้จักตัวตนบุคคลได้ดียิ่งขึ้น แต่ยังบอกถึง วิธีที่คนอื่นรู้จักบุคคลท่านนั้นด้วยเช่นกัน
ด้านความเชื่อถือได้ (Reliability) ซึ่งค่ามาตรฐานไม่ควรต่ำกว่า 0.80
ด้านความถูกต้อง (Validity) ซึ่งค่ามาตรฐานกำหนดไม่ควรต่ำกว่า 0.20
*** กลุ่มการทดสอบกำหนดขั้นต่ำที่ 200 คน
แบบทดสอบของ M.I.S.S.CONSULT
ผ่านการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ตามหลักสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และหลักจิตวิทยา เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แบบทดสอบของเรามีความแม่นยำ และถูกต้อง เสริมความเชื่อมั่น พร้อมนำไปใช้งานได้จริง ยกตัวอย่าง แบบทดสอบ EPT Plus ของทาง MissConsult ที่ได้ผลการทดสอบประสิทธิภาพของแบบทดสอบ โดยผลการทดสอบเป็นดังนี้
ด้านความเชื่อถือได้ (Reliability) ค่า 0.90
ด้านความถูกต้อง (Validity) ค่า 0.35
***หมายเหตุกลุ่มการทดสอบ กำหนดขั้นต่ำที่ 42,962 คน (ทำสำรวจ 4 ภาค จำนวน 9 จังหวัด – กรุงเทพฯ ปราณจีนบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ สงขลา นครราชสีมา ชลบุรี และ ระยอง)
เพราะว่า แบบทดสอบทางจิตวิทยาโดยแท้จริงแล้วไม่มีที่สมบูรณ์ถึง 100 เปอร์เซนต์ ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยา จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการวัดคุณภาพของแบบทดสอบทางจิตวิทยาในเชิงค่าสถิติ เพื่อค่าความเที่ยงตรงที่ดีที่สุดในการนำมาใช้ แบ่งออกเป็นแบบทดสอบทางจิตวิทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง และ เป็นเครื่องมือประกอบการคัดเลือก การพัฒนา บุคลากร เพื่อทำให้องค์กรได้บุคลากรที่ดี และ เรียนรู้ที่จะใช้ศักยภาพของบุคลกรได้อย่างเต็มที่
เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายขององค์กรบุคคล มีความหลากหลายในตนเอง คนแต่ละคน มีจุดเด่น จุดด้อย และ ความรู้สึกแอบแฝง เปิดเผย ที่แตกต่างกัน ด้วยแบบทดสอบ ไม่เพียงทำให้รู้จักตัวตนบุคคลได้ดียิ่งขึ้น แต่ยังบอกถึง วิธีที่คนอื่นรู้จักบุคคลท่านนั้นด้วยเช่นกัน
