top of page
Building-up-on-their-ideas-944060494_751x468.jpeg

Blog

Goleman เผย 6 สไตล์ผู้นำ ที่มักพบในชีวิตการทำงาน: สรุปวิธีเลือกใช้แต่ละสไตล์ ให้ลูกน้องรัก



มีหลายบทความที่เขียนเกี่ยวกับสไตล์การนำที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป และวิธีการระบุสไตล์ที่เหมาะสมกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นสไตล์การทำธุรกรรมหรือการเปลี่ยนแปลง สไตล์แบบราชการหรือปล่อยให้ไปตามสบาย


จากที่ Daniel Goleman นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงจากผลงานเกี่ยวกับอารมณ์สติปัญญา ได้กล่าวไว้ว่า “การเป็นผู้นำที่ยอดเยี่ยมหมายถึงการรู้จักว่าสถานการณ์ที่แตกต่างกันอาจต้องการวิธีการที่แตกต่างกัน”


จากการวิจัยและประสบการณ์ Goleman ได้ระบุสไตล์การนำทั้ง 6 ที่ผู้จัดการสามารถปรับใช้ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความต้องการของสมาชิกในทีม Goleman ได้อธิบายเกี่ยวกับสไตล์เหล่านี้ครั้งแรกในบทความของเขาที่ Harvard Business Review ในปี 2000 ในชื่อ “Leadership That Gets Results” และตั้งแต่นั้นมาได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็น “กรอบที่สำคัญสำหรับการนำที่มีประสิทธิภาพ”


แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สไตล์การนำเหล่านี้ยังคงถูกนำมาใช้อยู่ในปัจจุบัน การมีความเชี่ยวชาญในสไตล์การนำเหล่านี้ จะช่วยให้คุณจัดการกับความซับซ้อนของสถานการณ์ต่าง ๆ และผลักดันการเติบโตระยะยาวของทีมได้ดีขึ้น


บทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจ Leadership ทั้ง 6 สไตล์  และเมื่อใดที่ควรใช้ของแต่ละแบบกัน



1. Coercive Leadership Style — สไตล์การนำแบบ “บังคับบัญชา”


สไตล์การนำแบบ “บังคับบัญชา” หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า “สไตล์เผด็จการ” — ทำตามสั่งทันที


ตามที่ Goleman ได้กล่าวไว้ ใน 6 สไตล์การนำทั้งหมดนี้ “การนำแบบบังคับบัญชา” เป็นสไตล์ที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดในหลายๆ สถานการณ์ สไตล์นี้มีลักษณะเฉพาะ คือ การตัดสินใจแบบ Top-down และมีทัศนคติที่ให้ทำตามคำสั่งก็พอ แม้ว่าสไตล์นี้อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ก็มีผลกระทบที่ทำลายวัฒนธรรมองค์กรในระยะยาว ซึ่งนำไปสู่อัตราการลาออกของพนักงานที่สูงขึ้นและหมดกำลังใจและไม่อยากมีส่วนร่วมในการทำงาน


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “บังคับบัญชา” ตอนไหน?


สไตล์การนำแบบออกคำสั่งและควบคุมนี้อาจมีประโยชน์ในบางสถานการณ์ ที่ต้องการการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและมีความชัดเจนในโครงสร้างการบังคับบัญชา เช่น สถานการณ์ระหว่างแพทย์ประจำห้องฉุกเฉินและแพทย์ผู้ช่วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่วนใหญ่ วิธีนี้อาจส่งผลเสียได้ ตามที่ Goleman กล่าว



2. Authoritative Leadership Style — สไตล์การนำแบบ “ปลูกฝัง”


สไตล์การนำแบบ “ปลูกฝัง” เป็นเรื่องของการกระตุ้นทีม โดยเน้นการให้ Vision และ Mission องค์กร ที่ชัดเจนโดยไม่ควบคุมมากเกินไป และเชื่อมั่นให้ทีมบรรลุวิสัยทัศน์ร่วมกันด้วยความเป็นอิสระและความคิดสร้างสรรค์ การทำเช่นนี้นำไปสู่การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในการทำงานที่สูงขึ้นในกลุ่มพนักงาน ซึ่งจะตรงกันข้ามกับสไตล์การนำแบบบังคับ (Coercive Leadership) สไตล์การนำแบบปลูกฝังนับว่าเป็นสไตล์ที่มีประสิทธิผลและสร้างแรงบันดาลใจมากที่สุด


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “ปลูกฝัง” ตอนไหน?


สไตล์การนำนี้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ และเป็นประโยชน์อย่างมากในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอน ทั้งยังสามารถใช้รวมเข้ากับการดำเนินงานในทุกวันได้ โดยการเน้นย้ำทีมถึงพันธกิจขององค์กรอย่างเป็นธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ผู้บริหารบริษัทยาอาจกล่าวว่า "งานของเราจะช่วยประโยชน์ให้กับผู้ป่วยจำนวนมาก" ในขณะที่ผู้นำในบริษัทประกันภัยอาจกล่าวว่า "เรากำลังช่วยให้ผู้คนสร้างมั่นคงในอนาคต" ซึ่งช่วยให้เป้าหมายและพันธกิจขององค์กรเป็นรูปธรรมและมีความหมายสำหรับทีมมากยิ่งขึ้น



3. Pacesetting Leadership Style — สไตล์การนำแบบ “มาตรฐานที่สูงลิบ”


สไตล์การนำแบบ “มาตรฐานที่สูงลิบ” คือ ผู้นำที่มีความเป็น “Perfectionist” กำหนดมาตรฐานที่สูงและคาดหวังให้ผู้อื่นทำได้อย่างตนหรือทำด้วยตนเอง แม้ว่าการพยายามที่จะทำงานอย่างเยี่ยมยอดเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม แต่การโฟกัสที่ความสมบูรณ์แบบมากเกินไปอาจส่งผลเสียหากความสนใจอยู่ที่ความล้มเหลวมากกว่าความสำเร็จ และยังอาจทำให้พนักงานมองไม่เห็นว่าความพยายามของพวกเขาเข้ากับภาพรวมใหญ่ขององค์กรได้อย่างไร ซึ่งอาจนำไปสู่อัตราการลาออกที่เพิ่มขึ้นได้ 


“หากคนที่ดีที่สุดของคุณกำลังออกเพราะคุณทำให้พวกเขาไม่พอใจหรือทำให้พวกเขาเครียด นั่นหมายถึงคุณไม่ได้ดำเนินการตามผลประโยชน์ระยะยาวขององค์กรของคุณ” — Goleman


“If your best people are leaving because you’re alienating them or stressing them out, then you’re not acting in the long-term interests of your organization” — Goleman


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “มาตรฐานที่สูงลิบ” ตอนไหน?


แม้ว่าสไตล์นี้ไม่ควรใช้บ่อยนัก แต่ก็สามารถใช้ได้ในบางสถานการณ์ที่ทีมมีแรงจูงใจสูงและมีความสามารถเป็นพิเศษ อาจเหมาะกับเฉพาะบางทีม เช่น ทีมวิจัยและพัฒนา หรือ ทีมกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ควรสลับใช้วิธีการอื่น ๆ ในการทำงานร่วมกับทีม เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบอื่นๆ อย่างการหมดไฟ หรือ Burnout



4. Affiliative Leadership Style — สไตล์การนำแบบ “People First”


สไตล์การนำแบบ “People First” หรือ “คนต้องมาก่อน” ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างทีมส่งเสริมสถานที่ทำงานที่มีบรรยากาศดีและสนับสนุน สิ่งนี้ช่วยให้สมาชิกในทีมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่ง สามารถแบ่งปันความคิดและข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ และทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “People First” ตอนไหน?


ด้วยสไตล์การนำแบบ “People First” นี้ให้ความสำคัญกับการสร้างคอนเนคชั่นและวัฒนธรรมบริษัทที่เป็นบวก แต่ไม่สามารถใช้สไตล์นี้เดี่ยวๆ ได้ เนื่องจากทำให้ผู้นำอาจให้ฟีดแบ็คได้ไม่เพียงพอในการจัดการกับปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานหรือการจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อน ดังนั้น ควรใช้แบบผสมระหว่างสไตล์การนำแบบ “ปลูกฝัง” และ แบบ “People First” ซึ่งจะช่วยสร้างความสมดุล โดยสนับสนุนทั้งด้านรักษาความสัมพันธ์และด้านประสิทธิภาพการทำงานมาขึ้น



5. Democratic leadership style — สไตล์การนำแบบ “ประชาธิปไตย”


สไตล์การนำแบบ “ประชาธิปไตย” เป็นการให้อำนาจแก่ทีมในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยการใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูล ฟังความกังวลและมุมมองที่หลากหลาย และรวมข้อเสนอแนะ เพื่อแสดงให้สมาชิกในทีมเห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขามีความสำคัญและมีค่า สิ่งนี้ทำให้พวกเขามีความรู้สึกเป็นเจ้าของงานและเป็นส่วนหนึ่งกับมัน


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “ประชาธิปไตย” ตอนไหน?


สไตล์การนำแบบ “ประชาธิปไตย” เป็นสไตล์ในฝันของใครหลายๆ คน ทั้งยังเป็นสไตล์ที่เหมาะสมที่สุดเมื่อผู้นำไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดและเมื่อต้องการสร้างไอเดียใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม มันไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีเมื่อสมาชิกในทีมขาดประสบการณ์หรือข้อมูล หรืองานนั้นเป็นงานเร่ง



6. Coaching leadership style — สไตล์การนำแบบ “โค้ช”


สไตล์การนำแบบ “โค้ช” มุ่งเน้นไปที่การ “พัฒนาตัวบุคคล” ให้เป็นคนที่เก่งและดีขึ้น ซึ่งผู้นำจะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจเป้าหมายระยะยาวของสมาชิกในทีม ทั้งในแง่ความต้องการส่วนตัวและการพัฒนาในวิชาชีพ


Goleman กล่าวไว้ว่า “ใช้การถามคำถามเพื่อเข้าใจลูกน้องมากขึ้น เช่น 'คุณมีเป้าหมายอะไรในชีวิต/จากอาชีพนี้/จากการทำงานนี้? และฉันสามารถช่วยคุณอย่างไรได้บ้าง?' ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้องของคุณได้สะท้อนถึงความต้องการของตนเองและทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น”

ด้วยการแสดงความใส่ใจอย่างแท้จริงในการพัฒนาของพวกเขา ช่วยให้ลูกน้องของคุณรู้สึกได้รับความนับถือและมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น


เราควรใช้ สไตล์การนำแบบ “โค้ช” ตอนไหน?


สไตล์การนำแบบ “โค้ช” มีประโยชน์มากในการประเมินผลการทำงานแบบ One-on-One แต่คุณยังสามารถนำไปใช้ในการสนทนาประจำวันได้เช่นกัน ผู้นำในโหมดนี้อาจพูดว่า “คุณทำ XYZ ได้ดีมาก แต่เมื่อคุณทำ ABC มันไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะเหตุผลเหล่านี้ คุณได้ลองใช้วิธีอื่นแทนไหม?” การตอบกลับแบบ Real-time นี้ช่วยให้พนักงานเติบโตและเรียนรู้ได้ แทนที่จะปล่อยให้ปัญหาค้างคาอยู่



Goleman กล่าวว่า “ความสำเร็จของผู้นำขึ้นอยู่กับผลผลิตและประสิทธิภาพของผู้ที่ทำงานให้กับคุณ”

“A leader’s success depends on the productivity and effectiveness of the people who work for them,” Goleman says.


“คุณกำลังทำลายตัวเองหากใช้สไตล์การนำที่ส่งผลเสียต่อผลการทำงานของพวกเขา”

“You’re shooting yourself in the foot if you use a style of leadership that’s counterproductive to their performance.”



Sources

Harvard Business Review: 6 Common Leadership Styles — and How to Decide Which to Use When


Comments


bottom of page