รู้หรือไม่?
ว่าผลกระทบจากภาวะวิกฤต สามารถทำให้ประสิทธิผลในการส่งออกผลงานของผู้ทำงานลดลง และแน่นอนว่าเมื่อผู้ทำงานแสดงศักยภาพได้ไม่เต็มที่ นั่นหมายถึงการที่ผลลัพธ์ขององค์กรอาจส่งออกไม่ได้เหมือนเดิม!
ในทำนองเดียวกัน จากงานวิจัยของ Harvard Business Review ชี้ให้เห็นว่า การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ทำงานภายในองค์กร เป็นปัจจัยสำคัญหลักในการขับเคลื่อนองค์กรให้ได้ประสิทธิภาพ เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเช่นนี้ มีผลทำให้ผู้ทำงานให้ความสนใจเรื่องเกี่ยวกับตนเองมากขึ้น และ ให้ความสำคัญกับองค์กรน้อยลง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำจะต้องสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กรให้ได้ในภาวะวิกฤตเช่นนี้
แล้ว 7 กลยุทธ์สร้างความร่วมมือในภาวะวิกฤต มีอะไรบ้าง?
1. สร้างบรรยากาศของการแสดงความคิดเห็น และ การท้าทายอย่างมีโครงสร้าง
ในที่นี้เป็นการสร้างบรรยากาศที่ทำให้คนในทีมรู้สึกปลอดภัยที่จะต้องตั้งคำถาม แม้ว่าจะเป็นความคิดเห็นที่แตกต่างจากคนอื่นก็ตาม ซึ่งเรียกว่า “หน้าที่การแสดงความไม่เห็นด้วย” การตั้งคำถามต่อไอเดีย หรือ สมมติฐาน ต่างๆ เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เพราะเมื่อเกิดการตั้งคำถาม ผู้เสนอความคิดเห็น ก็จะได้มุมมองที่แตกต่างและเป็นการท้าทายอย่างสร้างสรรค์ ที่สำคัญทีมอาจได้ไอเดียที่ดีกว่าความคิดของคนๆ เดียวก็เป็นได้
2. สังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในทีม
ผู้นำจำเป็นที่จะต้องมีการติดตาม หรือ สังเกต วิธีการทำงานภายในทีมด้วย เพื่อรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายในทีมและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ก่อนที่จะเป็นการสะสมพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการทำสำรวจ หรือ ใช้ระบบการติดตามการทำงานต่างๆ ก็ได้เช่นกัน
3. พูดคุยกับคนที่ทำงานจริงๆ
ผู้นำต้องมีการพูดคุยสื่อสารกับผู้ทำงานโดยตรงในแบบที่ไม่ผ่านการรับรู้ข้อมูลผ่านใครคนใดคนหนึ่ง หรือ การสื่อสารที่ไม่ได้มาจากผู้ทำงานโดยตรง เพื่อรับทราบถึงข้อเท็จจริง และ สิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญได้ถูกต้อง รวมถึงแก้ไขได้ตรงประเด็น เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น
4. หมั่นพูดถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจเป็นระยะ
การที่ผู้ทำงานมีความเชื่อ หรือ รับรู้ว่าบรรลุเป้าหมายในการทำงานร่วมกับองค์กร จะเป็นการเติมเต็มและจูงใจให้การทำงานของพวกเขา เพราะ การรู้ว่าความสามารถของพวกเขาทำอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง จะส่งผลให้เกิดการคิดและการทำงานที่จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นภายในทีม ดังนั้น ผู้นำต้องสร้างความมั่นใจในการเข้าหาเพื่อนร่วมทีม และลดความไม่แน่นอน ไม่แน่ใจของผู้ทำงานให้น้อยที่สุด
5. รับฟังความคิดเห็นในการทำงานจากสมาชิกในทีม หรือ ทีมงาน
ผู้ทำงาน รวมถึงผู้นำด้วย เมื่อเกิดความเครียด หรือ ความคิดที่ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปดี ก่อนอื่นเลยคุณต้องรู้ว่าโดยธรรมชาติคุณมีพฤติกรรมอย่างไรเมื่อคุณเกิดความเครียด คุณจะพูดคุยปรึกษาคนในทีมทันที หรือ เลือกที่จะหาทางออกเพียงลำพัง? เมื่อคุณได้คำตอบ คุณลองมองย้อนกลับไปว่าที่ผ่านมาคุณทำอย่างไร และ ลองรับฟังมุมมองความคิดจากคนอื่นๆ เพิ่มเติม เพราะการที่คนในทีมรู้ว่าคุณเป็นคนแบบไหน เมื่อเครียดแล้วจะทำอย่างไร จะทำให้พวกเขาสามารถคาดการณ์ได้ และ จะทำให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ใช้จุดแข็งของคุณให้เป็น
การเปลี่ยนแปลงนิสัยโดยธรรมชาติของตัวเอง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในเวลาที่เกิดความเครียดจากวิกฤต การใช้จุดแข็งของตนเอง ใช้สไตล์ของคุณอย่างมีสติเพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกันต่างหาก ที่จะสามารถสร้างความเข้มแข็งในกับเพื่อนร่วมทีมได้ เช่น หากคุณเป็นคนที่ชอบอยู่กับผู้คน ชอบการทำงานเป็นทีม คุณต้องใช้ความกระตือรือร้นของคุณในการขวัญกำลังใจต่อทีม อย่างการชื่นชมข้อดี หรือ จุดเด่นของแต่ละคนในทีม ชื่นชมความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ สร้างความมั่นใจในความสามารถภายในทีมได้ ซึ่งการชื่นชมในสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ จะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าได้อย่างแน่นอน!
7. ผู้ชนะ ในการเป็นผู้นำและทีมที่ทำงานร่วมกัน
ผู้นำหลายคนอาจทำร้ายคนในทีมโดยไม่รู้ตัว ด้วยการเน้นยกย่องเฉพาะทีมงานที่ทำความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย หรือ ทำงานล่วงเวลา โดยอาจละเลยที่จะตระหนักถึงความพยายามในการช่วยทีมของแต่ละคน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงที่ทีมงานจะต้อง Work from home การให้การสนับสนุนสมาชิกทุกคนให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน โดยกล่าวถึงบทบาทของสมาชิกแต่ละคนให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
หลังจากที่วิกฤตผ่านพ้นไป ผู้นำควรตรวจสอบและบริหารจัดการโครงสร้างองค์กร เช่น ระบบค่าตอบแทน การสร้างแรงจูงใจ และ การจ้างงาน เพื่อภาพรวมวัฒนธรรมองค์กรอีกครั้ง ซึ่งในระหว่างนี้ ก็สามารถนำ 7 กลยุทธ์ที่แอดมินนำมาฝากไปปรับใช้ให้เหมาะกับการทำงานเป็นทีมของคุณได้เลยนะคะ
Credit: Harvard Business Review
M.I.S.S.CONSULT The Leadership Solution Specialist (LSS)
コメント