top of page

The Growth Journal

Writer's pictureM.I.S.S.CONSULT

จ้างงานอย่างไรให้เจอคนที่ใช่ - เผยเคล็ดลับลดอคติขณะคัดเลือกพนักงาน

ลองจินตนาการดูว่าบริษัทของคุณมีพนักงานมารอสัมภาษณ์งานจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนล้วนมีข้อดีที่โดดเด่นออกมาไม่ซ้ำกัน แล้วคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณควรรับพนักงานคนไหนเข้าทำงาน และเขาคือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานที่คุณต้องการ



ขั้นแรกสุด คือคุณต้องพิจารณาว่าองค์กรของคุณให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากรอย่างเท่าเทียมหรือไม่ สิ่งนี้จะเป็นตัวดึงดูดผู้สมัครงานที่มีศักยภาพสูงให้อยากร่วมงานกับคุณ ผู้สมัครต้องรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ได้รับความเคารพ และได้รับการสนับสนุนโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่องค์กรควรทำให้พวกเขารู้สึก ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครงาน ความแตกต่างเหล่านี้อาจรวมถึงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เพศ รสนิยมทางเพศ อายุ ความสามารถทางร่างกาย ความเชื่อทางศาสนา ภูมิหลังทางการศึกษา ความหลากหลายทางระบบประสาท และอื่น ๆ อีกมากมาย สถานที่ทำงานที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมจะส่งเสริมความหลากหลาย และสร้างความมั่นใจว่าทุกคนมีโอกาสเข้าถึงโอกาส ทรัพยากร และความก้าวหน้าอย่างเท่าเทียมกัน


ขั้นที่ 2 คือการปลูกฝังวัฒนธรรมการจ้างงานที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม รับฟัง ให้คุณค่ากับมุมมองที่แตกต่างของบุคคล กระบวนการในขั้นที่ 2 นี้จะส่งผลให้คุณเพิ่มความมั่นใจ และเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน


ในการทำความเข้าใจสิ่งที่องค์กรควรปฏิบัติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการจ้างงาน Wiley Workplace Intelligence ได้ทำการสำรวจพนักงาน และผู้จัดการจำนวน 2400 คน ถึงแนวโน้มการจ้างงานในปัจจุบัน เกี่ยวกับการฝึกฝนบุคลากรที่ทำหน้าที่คัดเลือกคน ว่าพวกเขาสามารถคัดเลือกคนเข้าทำงานโดยปราศจากอคติได้หรือไม่ รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่ถูกนำเข้ามาใช้คัดเลือกคนในปัจจุบัน ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งผลสำรวจนี้อาจทำให้คุณประหลาดใจ



จากการสำรวจพบว่า องค์กรส่วนใหญ่ใช้การสัมภาษณ์งานเป็นเครื่องมือด่านแรกในการคัดเลือกคนเข้าทำงาน


จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ทำการคัดเลือกคนเข้าทำงานกว่า 72% ใช้การสัมภาษณ์งานเป็นเครื่องมือแรกในการรับคนเข้าทำงาน แน่นอนว่าการสัมภาษณ์เข้าทำงานเป็นวิธีที่พื้นฐาน และดีมากในการทำความรู้จักผู้สมัครงาน แต่จุดที่จำเป็นต้องระวังอย่างยิ่งคือ การสัมภาษณ์มักจะเกิดความรู้สึกอคติได้โดยที่เราไม่รู้ตัว การอาศัยข้อมูลที่เป็นกลาง และมีความถูกต้องเข้ามาช่วย จึงเป็นตัวเลือกที่ดีในการสัมภาษณ์งาน


นอกจากนี้ผลสำรวจยังบอกว่าผู้คัดเลือกคนเข้าทำงาน ที่นำแบบประเมินทักษะ และบุคลิกภาพเข้ามาใช้ในการคัดเลือกคน มีจำนวนน้อยกว่า 4% ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก แม้ในความเป็นจริงแบบประเมินเหล่านี้สามารถช่วยเราคัดเลือกคนได้อย่างเป็นกลางมากขึ้น ช่วยลดอคติ และทำให้มั่นใจได้ว่าการตัดสินใจจ้างงานนั้นอิงจากมาจากผลประเมินที่น่าเชื่อถือ


การผสมผสานเครื่องมือประเมินที่หลากหลาย รวมถึงแบบประเมินทักษะ และบุคลิกภาพ สามารถช่วยให้องค์กรเลือกจ้างบุคลากรได้ถูกต้อง และมีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น วิธีการนี้สามารถช่วยระบุผู้สมัครที่เหมาะสมกับองค์กร โดยพิจารณาจากทักษะและศักยภาพ ส่งผลให้องค์กรมีพนักงานที่มีความหลากหลาย และมีทักษะมากขึ้น



การฝึกอบรมเกี่ยวกับการจ้างงาน และการคัดเลือกบุคลากร


การวิจัยพบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้รับการฝึกอบรมบางรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการคัดเลือก แม้ว่ารายละเอียดเฉพาะของการฝึกอบรมนี้ยังไม่ชัดเจน นี่แสดงให้เห็นว่าในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่กำลังลงทุนในการฝึกอบรม แต่ยังมีช่องว่างสำหรับการปรับปรุงในแง่ของความชัดเจนและความครอบคลุม เพื่อเพิ่มความเท่าเทียมและประสิทธิผลในกระบวนการจ้างงาน องค์กรต่างๆ สามารถดำเนินโครงการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นเฉพาะด้านต่างๆ เหล่านี้ได้


จากผลสำรวจพบว่า ผู้ถูกสำรวจกว่า 72% เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจ้างงาน และคัดเลือกคนเข้าทำงาน แม้ว่าจุดประสงค์ และรายละเอียดของการฝึกนั้นยังไม่ชัดเจนอยู่บ้าง ผลสำรวจนี้แสดงให้เราเห็นว่า แม้องค์กรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมพนักงาน แต่มันก็แสดงให้เราเห็นถึงช่องว่างเล็กๆ ในแง่ของวัตถุประสงค์ที่ยังไม่มีความชัดเจนนัก และในการเติมเต็มจุดที่ยังขาดไปนั้นองค์กรต่างๆสามารถใช้การฝึกอบรมทักษะเฉพาะด้านต่อไปนี้เข้าช่วยได้:


  • การฝึกรับมือกับการมีอคติระหว่างสัมภาษณ์โดยไม่รู้ตัว: การให้ความรู้ความเข้าใจกับพนักงาน เกี่ยวกับ การมีอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่เจตนา บ่อยครั้งมันสามารถส่งผลต่อการตัดสินใจของเราได้

  • กิจกรรม Workshop เกี่ยวกับความหลากหลาย และการมีส่วนร่วม: ส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจคุณค่าของความหลากหลาย และการมีส่วนร่วมในงาน ให้ดีมากยิ่งขึ้น

  • การประเมินทักษะ และพฤติกรรมผ่านการทำแบบประเมินต่างๆ: มุ่งเน้นไปที่การประเมินผู้สมัครตามทักษะ พฤติกรรม และความสามารถมากกว่าใช้เกณฑ์ส่วนตัว

  • เรียนรู้เทคนิคในการสัมภาษณ์งาน: วิธีการสัมภาษณ์งานที่มีความเป็นกลาง และมีประสิทธิภาพ


แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำความเข้าใจและดำเนินแนวทางปฏิบัติด้านความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DE&I) ในระดับกลยุทธ์ แต่การฝึกอบรมผู้จัดการฝ่ายการจ้างงาน ในเรื่องเหล่านี้ให้ครอบคลุมเอกก็มีความสำคัญเช่นกัน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นมักจะคัดเลือกผู้สมัครที่มีความหลากหลายเข้ามา แต่คนที่เป็นคนตัดสินใจจ้างงานในขั้นสุดท้ายนั้นคือ ผู้จัดการฝ่ายการจ้างงาน ดังนั้น การทำให้มั่นใจว่าผู้จัดการฝ่ายว่าจ้างมีข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนความเท่าเทียมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง



พนักงานที่ดูแลเรื่องการจ้างงาน มีเพียงครึ่งเดียวที่เคยได้รับการอบรมเรื่อง “ความเท่าเทียม”


จากการสำรวจผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการคัดเลือก 56% ระบุว่าองค์กรของพวกเขาให้การฝึกอบรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมในการจ้างงาน ถึงแม้ว่านี่จะเป็นก้าวที่ดี แต่ก็เน้นให้เห็นถึงช่องว่างที่สำคัญ: เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรของผู้ตอบแบบสอบถามขาดการฝึกอบรมดังกล่าว การขาดการฝึกอบรมนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงและความกังวลที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร


ผู้ถูกสำรวจจำนวน 56% ระบุว่าองค์กรของพวกเขาเคยจัดการอบรม และศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดี แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าองค์กรอีกครึ่งหนึ่งขาดการฝึกอบรมในประเด็นดังกล่าว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยง และข้อกังวลต่อองค์กรในเรื่องของการจ้างงาน


การฝึกอบรมด้านความเท่าเทียมมีส่วนช่วยบุคลากรในองค์กรในการลดอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวระหว่างการคัดเลือกพนักงาน ผู้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมในเรื่องนี้อาจเกิดอคติขึ้นได้ แม้จะไม่ตั้งใจแต่ก็มีโอกาสที่จะคัดเลือกบุคลากรที่ไม่เหมาะกับองค์กร อีกทั้งยังมีโอกาสลดความหลากหลายของพนักงานจากความอคตินั้น อาจส่งผลให้การเติบโตขององค์กรช้าลง หรือหยุดชะงัก การแก้ไขปัญหานี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการส่งเสริมสถานที่ทำงานที่มีความเท่าเทียมและยุติธรรมอย่างแท้จริง


การให้ความสำคัญ และนำความเท่าเทียมมาใช้ร่วมกับหลักการจ้างงาน จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น ลดอคติ และส่งเสริมการสร้างพนักงานที่มีความกระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ความมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์และความสำเร็จโดยรวม แต่ยังสร้างสถานที่ทำงานที่ทุกคนรู้สึกมีคุณค่าและได้รับการสนับสนุน


แบบประเมินของทาง Wiley นับว่าเป็นแบบประเมินตัวหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมาก สำหรับการคัดเลือกคนเข้าทำงาน รวมทั้งยังเป็นการวางรากฐานของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เหนียวแน่นอีกด้วย แบบประเมินเช่น PXT Select สามารถสร้างชุดข้อมูลของผู้ทำแบบประเมิน ช่วยองค์กรต่างๆในการตัดสินใจจ้างงานได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยลดความอคติต่อการจ้างงาน ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อความสำเร็จในองค์กร



Source

PXT Select - Why Inclusion Is Crucial in the Hiring Process


#PXTSelect #HR #HumanResource #DiSC #บุคลิกภาพ #ความสัมพันธ์ #การใช้ชีวิต #พัฒนาตัวเอง #Relationship #EverythingDiSC #DiSCThailand

Comments


bottom of page